เทรนด์การย้ายถิ่นฐานออกจากเมืองใหญ่ อันเนื่องมาจากวิถีการดำรงชีพที่เปลี่ยนไป เพราะโรคระบาด ให้เราต้องอยู่บ้านของใครของมัน ทำเกือบจะทุกอย่างอยู่ที่บ้าน เป็นยุคของNew normal
ก็การย้ายถิ่นฐานมันส่งผลต่อความต้องการที่อยู่อาศัยยังไงล่ะ
พื้นที่ที่มีการย้ายออกมากขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยก็จะลดลง และในทางกลับกันพื้นที่ที่มีแนวโน้มย้ายเข้าเพิ่มขึ้นก็มีความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น
และโรคระบาดในรอบนี้ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบใหม่ (New normal)
เร่ิมด้วยการทำงานที่บ้าน (WFH: Work from home) เพื่อลดการระบาดของโรค ประกอบกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่นการคมนาคมและการสื่อสาร การเข้าถึงอินเตอร์เร็ต ด้านอสังหาริมทรัพย์ กด้ารสาธารณสุข และด้านการศึกษา ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานที่ไหนก็ได้ (WFA: Work from anywhere)
ส่งผลให้สามารถซื้อบ้านที่ไหนก็สามารถทำงานจากทางไกลได้ หรือแม้กระทั่งเดินทางท่องเที่ยวก็ยังสามารถทำงานไปด้วยได้
ในประเทศไทยของเราก็เริ่มมีแนวโน้มการออกไปใช้ชีวิตตามต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะเมืองที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอ และหากเป็นเมืองท่องเที่ยวแล้วยิ่งน่าย้ายไปอยู่ ดูจากสถิติจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังที่มีอัตราการย้ายเข้าเพิ่มมากขึ้นเป็นอันดับต้นๆของประเทศ
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ...
ปี2563 มีอัตราการย้ายถิ่น 1,005,000 คน เพิ่มขึ้น 60% จากปี 2562 คิดเป็นอัตราการย้ายถิ่น 1.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี
ที่มาของข้อมูล
https://www.bot.or.th/.../DocLib14/RL_Migration_Trend.pdf...
ภาคอีสานและภาคเหนือ มีอัตราการย้ายเข้ามากกว่าย้ายออก
โอกาสไหลไปอยู่ที่ไหนคงไม่ต้องบอกเนอะ
ส่วนสาเหตุหลักของการย้ายถิ่นเป็นเรื่องของการทำงานประมาณ 33% ของตัวดลขการย้ายถิ่นทั้งหมด
เมื่อแนวโน้มการย้ายถิ่นมากขึ้น แน่นอนว่าจะต้องส่งผลต่อความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
และเทรนด์ของการทำงานจากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ก็ย่อมจะส่งผลต้องการออกแบบฟังก์ชั่นภายในบ้าน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตในแบบใหม่นี้
และแน่นอนว่า...เราในฐานะนักพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยก็มีโจทย์ใหม่ให้ได้สนุกกับการทำโครงการกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน